วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2552

....นิทานเรื่องลูกไก่ 6ตัว

แม่ไก่ตัวหนึ่ง มีลูกน้อย 6ตัว วันหนึ่งแม่ไก่อยากทดสอบปัญญาของลูกๆ แม่ไก่จึงเอาหนอนมาให้ 9 ตัว โดยที่แม่ไก่มีข้อแม่ว่าให้แบ่งให้เท่าๆกันและห้ามทะเลาะกันถ้าเกิดทะเลาะกันเมื่อใดก็จะถูกทำโทษ
จากนั้นลูกไก่ทั้ง 6 ตัวเมื่อได้รับหนอนมาก็มานั่งประชุมกัน ว่าจะทำอย่างไร โดยที่
ลูกไก่ตัวที่ 1ได้เอ่ยออกมาว่า "ข้าเป็นพี่ใหญ่ข้าต้องได้มากที่สุด"
ลูกไก่ตัวที่2จึงพูดออกมาว่า "เราเกิดตามหลังพี่ใหญ่เราควรได้น้อยกว่าพี่ใหญ่นิดนึง"
ลูกไก้ตัวที่5ซึ่งมีความเป็นธรรมและไม่ยอมใครอยู่แล้ว ถึงแม้จะเป็นน้องก็ตาม จึงเสนอออกมาว่า"ให้แบ่งหนอนคนละ1ตัวก่อนแล้วที่เหลือให้จับคู่กันแล้วแบ่งหนอนคู่ละหนึ่งตัวเพื่อได้แบ่งคนละครึ่งก็จะได้เท่ากับคนละ1ตัวครึ่ง"
หลังจากลูกไก่ตัวที่5พูดจบลูกไก่ตัวที่3,4,และ6ก็มีความเห็นที่ตรงกันจึงได้ข้อสรุปออกมาตามลูกไก่ตัวที่5
เมื่อลูกไก่ทั้ง6ตัวได้ข้อสรุปอย่างนั้นจึงรีบวิ่งไปหาแม่และเล่าให้แม่ฟัง
แม่จึงมีความพอใจในความคิดของลุกๆทั้ง6มาก จึงพูดกับลูกๆว่า"แม่ภูมิใจในตัวลูกๆมากที่ใช้ปัญยาในการแก้ปัญหาโดยที่ไม่ใช้กำลังในการตัดสิน"
จบค่ะ......

...เพลง(แม่ไก่ ลูกไก่)

กุ๊ก กุ๊กไก่ กุ๊กกุ๊กไก่ แม่ไก่ตัวใหญ่ ลูกไก่ตัวเล็ก
เดินไปทางซ้าย
เดินไปทางขวา
เดินไปข้างหน้า
แล้วก็เดินไปด้านหลัง
กุ๊ก กุ๊ก ไก่ กุ๊กกุ๊กไก่

สรุปการเรียนสัปดาห์ที่5

ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากจะเข้าใจพัฒนาการเด็ก ธรรมชาติของการเรียนรู้ของเด็ก และขอบข่ายของหลักสูตรอย่างซึ้งแล้ว ยังจะต้องเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจ หลักการสอน
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างดีด้วย เช่น
  1. สอนสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
  2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้ พบคำตอบด้วยตัวเอง
  3. มีเป้าหมายและการวางแผนที่ดี
  4. เอาใจไส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นตอนของพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก (ให้ได้ปฎิบัติของจริง)
  5. ใช้วิธีการจดบันทึกฟฤติกรรมหรือระเบียบฟฤติกรรมเพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม
  6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก
  7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
  8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดยากๆ
  9. ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฎิบัติการจริง
  10. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านอย่างต่อเนื่อง
  11. บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสมำเสมอเพื่อแก้ไขปรับปรุง
  12. ในคาบหนึ่งเพียงความคิดรวบยอดเดียว
  13. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปยาก
  14. ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเพื่อให้เด็เข้าใจสิ่งเหล่านั้น

การเตรียมความพร้อมเด็กให้เก่งคณิตศาสตร์จะต้องฝึกให้เด็กได้มีพัฒนาการของด้านสายตาก่อนอันดับแรก ถ้าหากเด็กไม่สามารถใช้สายตาในการจำแนก จัดแบ่งประเภทแล้ว เด็กก็จะมีปัญหาด้านการเรียนรู้กับคณิตศาสตร์ได้

สรุปการเรียนสัปดาห์ที่4

ลักษณะหลักสูตรที่ดีมีความสมดุลต่อไปนี้

  1. เน้นกระบวนการคิดและการพัฒนาความคิดรวบยอด
  2. น้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์เกี่ยวกัยกิจกรมมในชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่อง
  3. แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆและลักษณะอย่างค่อยเป็นค่อยไป
  4. สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่ออให้ได้คำตอบ
  5. ส่งเสริมให้เด้กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
  6. เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน
  7. เปิดให้เด้กได้ค้นคว้าสำรวจ ปฎิบัติรู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง

สรุปการเรียนสัปดาห์ที่3

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นเป็นของใกล้ตัว เป็นเรื่องง่ายๆ ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้เป็นกระบวนการได้โดยที่บุรณาการผ่านเรื่องใกล้ตัวต่างๆเช่น การตวง การนับ
หรือแม้แต่การวัด เป็นต้น คณิตศาสตร์ไม่ได้แต่เป็นการที่จะให้เด็กบวกเลขเพียงอย่างเดียวแต่จะให้เด็กสามมารถเปรีบยเทียบ และรู้จักขนาด(เล็ก ใหญ่)
รูปทรง(สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมฯลฯ) และสี เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งของใกล้ตัวที่เด็กสมารถเรียนรู้ได้จากสิ่งของต่างๆรอบตัวเพื่อเป็นการต่อยอดในการเรียนต่อไป

หลักการสอนคณิตศาสตร์


  1. การจัดหมวดหมู่

  2. ความสัมพันธ์เกี่ยวกับระยะ

  3. การเรียงลำดับ

  4. ความสัมพันธ์เกี่ยวกับเวลา

  5. รูปทรงและเนื้อที่

  6. การวัด

  7. การหาค่าปริมาณ

  8. การนับ

  9. การจับคู

  10. มิติสัมพันธ์