วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552

แผนการสอน

หน่วยลูกโป่ง
วันที่ 1
เรื่อง ลักษณะของลูกโป่ง

จุดประสงค์
1.เพื่อให้เด็กบอก สี รูปร่าง และลักษณะของลูกโป่ง
เนื้อหาสาระสำคัญ
1.สี รูปร่าง เสียงและลักษณะของลูกโป่ง
ประสบการณ์สำคัญ
1.เด็กสังเกตและบอกลักษณะของลูกโป่งได้
ขั้นนำ
1.ครูนำลูกโป่งมากำไว้ในมือ โดยไม่ให้เด็กเห็น แล้วดีดให้เกิดเสียง ให้เด็กทายว่าเป็นเสียงอะไร
2.ครูค่อยๆดึงส่วนต่างๆของลูกโป่งออกมาให้เด็กทายว่าคืออะไร
ขั้นสอน
1.ใช้คำถามถามเด็กเกี่ยวกับลูกโป่ง เช่น ส่วนประกอบของลูกโป่งมีอะไรบ้าง โดยเฉลยให้เห็นลูกโป่งบนกระดาน
2.ติดรูปทรงลูกโป่ง 3 ชนิด 3 สี แล้วถามว่าใครชอบรูปทรงไหนบ้าง โดยจัดลำดับมาก-น้อย
3.สรุปว่ารูปทรงและสีไหนที่เด็กชอบมากที่สุดและชอบน้อยที่สุด
ขั้นสรุป
1.ครูและเด็กร่วมกันสนทนาซักถามถึง สี รูปร่างและลักษณะของลูกโป่งที่เด็กรู้จัก โดยใช้คำถามนำดังนี้”เด็กๆรู้จักลูกโป่งรูปร่างใดบ้างค่ะ”
สื่อ
1.ลูกโป่ง
การวัดและประเมินผล
1.สังเกตการเรียนรู้ทางด้าน สี รูปร่างและเสียง
วันที่ 2
เรื่อง ลูกโป่งพองตัวได้อย่างไร
จุดประสงค์
1.เพื่อให้เด็กเรียนรู้การนับจำนวน
2.เพื่อให้เด็กเป่าลูกโป่งไปพร้อมๆกับการนับเลข
เนื้อหาสาระสำคัญ
1.สามารถให้เด็กเป่าลูกโป่งและเปรียบเทียบขนาดของลูกโป่งได้
ประสบการณ์สำคัญ
1.เด็กสามารถบอกและเปรียบเทียบขนาดของลูกโป่งได้
ขั้นนำ
1.ครูแนะนำอุปกรณ์กับเด็ก โดยการสนทนาเรื่องกิจกรรมเป่าลูกโป่งด้วยการนับ
ขั้นสอน
1.ครูแจกลูกโป่งให้เด็กคนละ 1 ลูก และให้เด็กเป่าลูกโป่งพร้อมกัน โดยครูนับ 1 ครั้ง เด็กเป่าลูกโป่ง 1 ครั้ง ถ้าครูนับ 2 ครั้ง เด็กก็เป่าลูกโป่ง 2 ครั้ง ครูนับไปเรื่อยๆ เด็กก็เป่าลูกโป่งไปเรื่อยๆ จนครูบอกให้หยุด จากนั้นครูก็ให้เด็กดูและสังเกตลูกโป่งว่าลูกโป่งของใครจะเล็กกว่าและใหญ่กว่ากัน โดยครูจะนำลูกโป่งมาวางเรียงกันจากเล็กไปหาใหญ่
ขั้นสรุป
1.ให้เด็กสังเกตขนาดและเปรียบเทียบขนาดของลูกโป่งระหว่างของตัวเองกับของเพื่อน
2.เด็กร่วมกันตอบและสรุปถึงเรื่องลูกโป่ง
สื่อ
1.ลูกโป่ง
การวัดและประเมินผล
1.สังเกตการฟังและการปฏิบัติตามข้อตกลง
2.สังเกตการเป่าลูกโป่งของเด็กหลังการตอบคำถามหรือการนับ
วันที่ 3
เรื่อง ประโยชน์ของลูกโป่ง
จุดประสงค์
1.เพื่อให้เด็กได้รู้ถึงประโยชน์ของลูกโป่ง
เนื้อหาสาระสำคัญ
1.สามารถให้เด็กบอกประโยชน์ของลูกโป่งได้
ประสบการณ์สำคัญ
1.เด็กสามารถบอกประโยชน์ของลูกโป่งได้
ขั้นนำ
1.ครูบอกประโยชน์ของลูกโดยผ่านการเล่านิทาน
ขั้นสอน
1.ครูถามเด็กว่า “เด็กๆรู้ไหมว่าลูกโป่งมีประโยชน์อย่างไร”
2.แล้วครูก็นำลูกโป่งที่เตรียมมาวางให้เด็กดูและถามเด็กว่า ถ้าเด็กจะนำลูกโป่งมาตกแต่งงานวันเกิดเด็กจะเลือกลูกโป่งแบบไหนมากที่สุด แล้วครูก็ทำสถิติว่าเด็กชอบลูกโป่งแบบไหนมากที่สุด
ขั้นสรุป
1.ให้เด็กช่วยกันนับจำนวนความชอบของลูกโป่งแต่ละแบบว่าแบบไหนที่เด็กชอบมากที่สุด
สื่อ
1.ลูกโป่ง
2.ฉิบติดจำนวน
3.ตัวเลขที่รวมจำนวน
การวัดและประเมินผล
1.สังเกตความร่วมมือของเด็กในขณะทำสถิติ
วันที่ 4
เรื่อง โทษของลูกโป่ง
จุดประสงค์
1.เพื่อให้เด็กรู้ถึงโทษของลูกโป่ง
เนื้อหาสาระสำคัญ
1.สามารถให้เด็กบอกโทษของลูกโป่งได้
ประสบการณ์สำคัญ
1.เด็กสามารถบอกโทษของลูกโป่งได้
ขั้นนำ
1.ครูบอกโทษของลูกโดยผ่านการเล่านิทาน
ขั้นสอน
1.ครูถามเด็กว่า “เด็กๆรู้ไหมว่าลูกโป่งมีโทษอย่างไร”
และให้เด็กเล่าประสบการณ์ที่พบเห็นว่าลูกโป่งมีโทษอย่างไร โดยแลกเปลี่ยนความคิดกับครู
ขั้นสรุป
1.ครูและเด็กช่วยกันนับจำนวนโทษของลูกโป่งที่เด็กเล่าจากประสบการณ์
สื่อ
1.ลูกโป่ง
การวัดและประเมินผล
1.สังเกตเด็กขณะเด็กเล่าประสบการณ์

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

สังเกตุการ โรงเรียนเกษมพิทยา

จากการที่สังเกตุการที่โรงเรียนเกษมพิทยาเป็นเวลา 2 สัปดาห์ นั้ทุกวันหลังจากเคารพธงชาติจะมีกิจกรมเกี่ยวกับคณิตศาตร์คือการออกกำลังกายโดยการที่คุณครูเปิดเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคณิตศาสต์ให้เด็กออกกำลังกาย เพลงที่นำมาฝาก คือเพลงที่ใช้เปิดทุกวันให้เด็กออกกำลังกาย
เพลง เลขาคณิตตบมือ ตบมือ ส่ายสะโพกโบกมือไปมา
ตบมือ ตบมือ เดินเป็นรูปสี่เหลื่ยม
เดินหน้า ถอยหลัง ส่ายสะโพกโบกมือไปมา
เดินหน้า ถอยหลัง เดินเป็นรูปวงกลม
หลังจากเข้าแถวเคารพธงชาติเสร็จเข้าเรียนแล้วภายในห้องเรียนนั้นก็ได้มีคณิตศสาตร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย คือ การบอกวันที่ โดยมีการให้เด็กบอกวันที่และให้เด็กออกมาหยิบตัวเลขไปติดตามวัน และสี ของวันแต่ละวัน ด้วย และยังมีการเช็คจำนนวนเด็กโดยการที่ครูถามว่าวันนี้เพื่อนคนไหนไม่มาบ้าง โดยที่ให้เด็กสังเกตเพื่อนที่นั้งข้าง ๆ และถามจำนวน ว่าขาดกี่คน มากี่คน โดยการใช้เทคนิคการถามของครูแต่ละคน

การสอนทำสื่ออิเล็กโทรนิกส์

วันนี้มีเรียนการทำกราฟฟิก โปรแกรม authorware 7.0 part 1โดยมีพี่วิทยากรสอนให้ทำโปรแกรมกราฟฟิกภาพเพื่อเป็นสื่อการสอนสำหรับเด็กวิทยกรได้สอนวิธีการทำทุกขั้นตอนอย่างละเอียด โดยการที่ให้แบ่งกลุ่ม ละ3 คน แต่ละกลุมก็จะไร่องที่ไม่เหมือนกัน แต่ละกลุมได้รับมอบหมายให้ทำกลุมละ2เรื่องกลุมของดิฉันได้เรื่องส่วนต่าง ๆของร่างกาย และเรื่องที่2ทุกกลุมจะได้เหมือนกันคื่อข้อสอบ พี่วิทยากรก็ได้ให้ตั้งคำถามเองโดยจะมีรูปมาให้หลังจากนั้นก็ได้ให้อัดเสียงเพื่อที่จะให้งานสมบูรณ์มากชึ้น หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมาเสนอผลงานโดยอาจารย์ก็ได้มีการให้ขอ้แนะนำและสิ่งที่ต้องแก้ไขเพื่ที่จะให้ผลงานสมบูรณืยิ่งขึ้นหลังจากน้นอาจารย์ก็ได้ให้ส่งเมลไปให้อาจารย์เพื่ออูและแนะนำอีกครั้ง

สรุปการเรียนสัปดาห์ที่9

ในวันนี้อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มเขียนแผนโดยการที่ให้เขียนแผนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์เพื่อเสริมทักษะให้เด็กโดยการที่นำเนวคิดจากแผนที่ความคิดที่กลุ่มจัดทำไว้มาคิดเป็นแผนการสอนเพื่อที่จะให้เด็กเรียนรู้เรื่องต่างๆเช่นรูปร่าง รูปทรงและลักษณะของลูกโป่ง เป็นต้น

สรุปการเรียนสัปดาห์ที่8

ต่อเนื่องจากแผนโดยอาจารย์ได้ให้ส่วเกมส์ที่อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มกลับไปทำและอาจารย์ได้ดูMindMapที่ได้กลับไปแก้ไขโดยที่อาจารย์ได้อธิบายต่อจากเรื่องของสัปดาห์ที่6 โดยได้ยกตัวอย่างของหน่วยไข่ให้ฟัง และได้ให้เพื่อนที่ยังไม่ทำให้ทำส่งเพื่อที่จะได้เป็นแนวทางในการเขีนยแผนต่อไป

สรุปการเรียนสัปดาห์ที่6

วันนี้อาจารย์ให้เขียนแผนการสอนหน่วยของแต่ละกลุ่มใส่ใน MindMap ส่งทางเมล์ โดยที่อาจารย์ได้ให้คิดแตกย่อยออกมาแล้วอาจารย์ก็ได้เปิดให้เพื่อนดูโดยที่มีการให้คำแนะนำและเพิ่มเมโดยกลุ่มของข้าพเจ้าได้เขียนหน่วยเกี่ยวกับเรื่องลูกโป่ง ซึ่งมีการสอนเกี่ยวกับสี รูปร่างลักษณะของลูกโป่งแล้วอาจารย์ก็ให้คิดกิจกรรมที่เกี่ยวกับหน่วยที่เขียนให้สอดคล้องกับขอบข่ายของคณิตศาตร์

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ขอบข่ายทางคณิตศาสตร์

1.การนับ -ให้เด็กนับลูกโป่งในตะกร้า-ให้เด็กนับลูกโป่งที่มีลักษณะกลม และมีสีแดง
2.ตัวเลข - ให้เด็กนำตัวเลขมาวางให้ตรงกับจำนวนลูกโป่ง
3.การจับคู่ - ให้เด็กจับคู่ลูกโป่งที่มีขนาด เท่ากัน- ให้เด็กจับคู่ลูกโป่งที่มีสีเดียวกัน- ให้เด็กจับคู่ลูกโป่งที่มีรูปทรงเดียวกัน
4.การจัดประเภท - ให้เด็กแยกลูกโป่งที่มีสีเหมือนกัน- ให้เด็กแยกขนาดของลูกโป่ง เล็ก- ใหญ่- ให้เด็กแยกลูกโป่งที่มีรูปทรงต่างกัน
5.การเปรียบเทียบ - ให้เด็กเปรียบเทียบขนาดของลูกโป่ง - ให้เด็กเปรียบเทียบลูกโป่งที่มีน้ำหนักไม่เท่ากัน ( โดยใส่น้ำไม่เท่ากัน)
6.การจัดลำดับ - ให้เด็กเรียงลำดับขนาดลูกโป่งที่มีขนาดเล็กสุดไปหาลูกโป่งที่มีขนาดใหญ่สุด- ให้เด็กเรียงลำดับลูกโป่งที่มีขนาดใหญ่สุดไปหาลูกโป่งที่มีขนาดเล็กสุด- ให้เด็กเรียงลำดับลูกโป่งที่น้ำหนักมากสุดไปหาลูกโป่งที่มีน้ำหนักน้อยสุด
7.รูปทรงและเนื้อที่ - ให้เด็กแยกลูกโป่งที่ลักษณะกลม - ยาว
8.การวัด - ให้เด็กวัดเส้นรอบลูกโป่ง ว่าแต่ละลูกมีขนาดเท่าใด- ให้เด็กเปรียบเทียบลูกโป่งลูกไหนหนัก ลูกไหนเบากว่ากัน
9.เซต - ครูบอกเด็กว่าลูกโป่งที่มีน้ำหนักได้นั้น เพราะใส่น้ำและแป้งเข้าไปแล้วให้เด็กแยกลูกโงที่ใส่น้ำและใส่แป้งออกจากกัน
10.เศษส่วน- เลือกเด็กมา 3 คน ให้ลูกโป่ง 9 ลูก โดยให้เด็กแบ่งให้เท่าๆ กัน
11.การทำตามแบบ หรือลวดลาย- ให้เด็กเป่าลมใส่ลูกโป่งให้มีขนาดเท่ากับที่ครูเลือกมา
12.การอนุรักษ์ - ถามเด็กว่าลูกโป่งที่เป่าแล้วกับลูกที่ยังไม่เป่า(โดยนำลูกโป่งที่มีรูปทรงเดียวกัน) มีความจุน้ำได้เท่ากันหรือเปล่า

ขอบข่ายทางคณิตศาสตร์หน่วยลูกโป่ง

ครั้งที่1
แก้ไขครั้งที่2



วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2552

....นิทานเรื่องลูกไก่ 6ตัว

แม่ไก่ตัวหนึ่ง มีลูกน้อย 6ตัว วันหนึ่งแม่ไก่อยากทดสอบปัญญาของลูกๆ แม่ไก่จึงเอาหนอนมาให้ 9 ตัว โดยที่แม่ไก่มีข้อแม่ว่าให้แบ่งให้เท่าๆกันและห้ามทะเลาะกันถ้าเกิดทะเลาะกันเมื่อใดก็จะถูกทำโทษ
จากนั้นลูกไก่ทั้ง 6 ตัวเมื่อได้รับหนอนมาก็มานั่งประชุมกัน ว่าจะทำอย่างไร โดยที่
ลูกไก่ตัวที่ 1ได้เอ่ยออกมาว่า "ข้าเป็นพี่ใหญ่ข้าต้องได้มากที่สุด"
ลูกไก่ตัวที่2จึงพูดออกมาว่า "เราเกิดตามหลังพี่ใหญ่เราควรได้น้อยกว่าพี่ใหญ่นิดนึง"
ลูกไก้ตัวที่5ซึ่งมีความเป็นธรรมและไม่ยอมใครอยู่แล้ว ถึงแม้จะเป็นน้องก็ตาม จึงเสนอออกมาว่า"ให้แบ่งหนอนคนละ1ตัวก่อนแล้วที่เหลือให้จับคู่กันแล้วแบ่งหนอนคู่ละหนึ่งตัวเพื่อได้แบ่งคนละครึ่งก็จะได้เท่ากับคนละ1ตัวครึ่ง"
หลังจากลูกไก่ตัวที่5พูดจบลูกไก่ตัวที่3,4,และ6ก็มีความเห็นที่ตรงกันจึงได้ข้อสรุปออกมาตามลูกไก่ตัวที่5
เมื่อลูกไก่ทั้ง6ตัวได้ข้อสรุปอย่างนั้นจึงรีบวิ่งไปหาแม่และเล่าให้แม่ฟัง
แม่จึงมีความพอใจในความคิดของลุกๆทั้ง6มาก จึงพูดกับลูกๆว่า"แม่ภูมิใจในตัวลูกๆมากที่ใช้ปัญยาในการแก้ปัญหาโดยที่ไม่ใช้กำลังในการตัดสิน"
จบค่ะ......

...เพลง(แม่ไก่ ลูกไก่)

กุ๊ก กุ๊กไก่ กุ๊กกุ๊กไก่ แม่ไก่ตัวใหญ่ ลูกไก่ตัวเล็ก
เดินไปทางซ้าย
เดินไปทางขวา
เดินไปข้างหน้า
แล้วก็เดินไปด้านหลัง
กุ๊ก กุ๊ก ไก่ กุ๊กกุ๊กไก่

สรุปการเรียนสัปดาห์ที่5

ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากจะเข้าใจพัฒนาการเด็ก ธรรมชาติของการเรียนรู้ของเด็ก และขอบข่ายของหลักสูตรอย่างซึ้งแล้ว ยังจะต้องเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจ หลักการสอน
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างดีด้วย เช่น
  1. สอนสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
  2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้ พบคำตอบด้วยตัวเอง
  3. มีเป้าหมายและการวางแผนที่ดี
  4. เอาใจไส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นตอนของพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก (ให้ได้ปฎิบัติของจริง)
  5. ใช้วิธีการจดบันทึกฟฤติกรรมหรือระเบียบฟฤติกรรมเพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม
  6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก
  7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
  8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดยากๆ
  9. ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฎิบัติการจริง
  10. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านอย่างต่อเนื่อง
  11. บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสมำเสมอเพื่อแก้ไขปรับปรุง
  12. ในคาบหนึ่งเพียงความคิดรวบยอดเดียว
  13. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปยาก
  14. ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเพื่อให้เด็เข้าใจสิ่งเหล่านั้น

การเตรียมความพร้อมเด็กให้เก่งคณิตศาสตร์จะต้องฝึกให้เด็กได้มีพัฒนาการของด้านสายตาก่อนอันดับแรก ถ้าหากเด็กไม่สามารถใช้สายตาในการจำแนก จัดแบ่งประเภทแล้ว เด็กก็จะมีปัญหาด้านการเรียนรู้กับคณิตศาสตร์ได้

สรุปการเรียนสัปดาห์ที่4

ลักษณะหลักสูตรที่ดีมีความสมดุลต่อไปนี้

  1. เน้นกระบวนการคิดและการพัฒนาความคิดรวบยอด
  2. น้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์เกี่ยวกัยกิจกรมมในชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่อง
  3. แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆและลักษณะอย่างค่อยเป็นค่อยไป
  4. สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่ออให้ได้คำตอบ
  5. ส่งเสริมให้เด้กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
  6. เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน
  7. เปิดให้เด้กได้ค้นคว้าสำรวจ ปฎิบัติรู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง

สรุปการเรียนสัปดาห์ที่3

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นเป็นของใกล้ตัว เป็นเรื่องง่ายๆ ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้เป็นกระบวนการได้โดยที่บุรณาการผ่านเรื่องใกล้ตัวต่างๆเช่น การตวง การนับ
หรือแม้แต่การวัด เป็นต้น คณิตศาสตร์ไม่ได้แต่เป็นการที่จะให้เด็กบวกเลขเพียงอย่างเดียวแต่จะให้เด็กสามมารถเปรีบยเทียบ และรู้จักขนาด(เล็ก ใหญ่)
รูปทรง(สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมฯลฯ) และสี เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งของใกล้ตัวที่เด็กสมารถเรียนรู้ได้จากสิ่งของต่างๆรอบตัวเพื่อเป็นการต่อยอดในการเรียนต่อไป

หลักการสอนคณิตศาสตร์


  1. การจัดหมวดหมู่

  2. ความสัมพันธ์เกี่ยวกับระยะ

  3. การเรียงลำดับ

  4. ความสัมพันธ์เกี่ยวกับเวลา

  5. รูปทรงและเนื้อที่

  6. การวัด

  7. การหาค่าปริมาณ

  8. การนับ

  9. การจับคู

  10. มิติสัมพันธ์